Thursday 18 July 2024

ระบบ PACS รับส่ง แปลงไฟล์ PNG GIF BMP PDF JPG เป็น DICOM เข้าระบบ อัตโนมัติ (ECG-EKG) X-RAY ทุกHIS

สามารถใช้ใด้กับพวก เครื่อง (ECG EKG)XRAYทุกรุ่น ที่สามารถส่งไฟล์  PNG GIF BMP PDF JPG .DCM ผ่านระบบ Network ใด้ 
*****สามารถดู ออนไลน์ได้ โดยไม่ต้องใช้  หรือ IP จริง ติดตั้ง ระบบเพิ่มเติม


ระบบ PACS  (Picture Archiving and Communication System)
          
ปัจจุบันเทคโนโลยีทางการแพทย์มีความเจริญก้าวหน้ามากยิ่งขึ้น หลายสิ่งหลายอย่าง สามารถนำมาพัฒนา และสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ๆ เพื่อเอื้อประโยชน์ให้แก่แพทย์และผู้ป่วยได้มากขึ้น ศูนย์รังสีวินิจฉัยในศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพรัตน์ ได้นำระบบที่ใช้งานด้านการเก็บรูปภาพทางการแพทย์ หรือภาพถ่ายทางรังสี โดยมีการรับ-ส่งข้อมูลภาพในรูปแบบดิจิตอล หรือที่เรียกว่า ระบบ PACS (Picture Archiving and Communication System) มาใช้ในการจัดการรับส่งข้อมูลผ่านทางระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ โดยการส่งภาพข้อมูลตามมาตรฐาน DICOM ซึ่งนับว่าเป็นการพัฒนาระบบโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพมาก

PACS  คืออะไร
          PACS  ย่อมาจากคำว่า (Picture Archiving and Communication System)  คือระบบที่ใช้ในการจัดเก็บรูปภาพทางการแพทย์ (Medical Images) หรือภาพถ่ายทางรังสี โดยมีการรับส่งข้อมูลภาพในรูปแบบดิจิตอล PACS ใช้การจัดการรับส่งข้อมูล ผ่านทางระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ โดยการส่งภาพข้อมูลตามมาตรฐาน DICOM

ทำไมถึงต้องใช้  PACS
          ในปัจจุบันเราจะเห็นได้ว่า เทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามามีบทบาทในทางการแพทย์เป็นอย่างมาก ระบบ  PACS ก็เป็นระบบเทคโนโลยีสารสนเทศทางการแพทย์อย่างหนึ่งที่พัฒนามาเพื่อใช้กับแผนกรังสีโดยตรง เนื่องจากภาพถ่ายทางรังสีมีความจำเป็นในการช่วยวิเคราะห์โรค และรักษาผู้ป่วย ระบบ PACS จะช่วยให้แพทย์ได้รับภาพถ่ายทางรังสีและผลวิเคราะห์จากรังสีแพทย์อย่างรวดเร็ว ทำให้แพทย์วินิจฉัยโรคและให้การรักษาผู้ป่วยได้เร็วยิ่งขึ้น โดยเฉพาะผู้ป่วยหนัก นอกจากนี้ ปัญหาการจัดเก็บและค้นหาฟิล์มเอกซเรย์ ก็ทำให้เกิดความล่าช้าของการรายงานผลเอกซเรย์ได้ บางครั้งเราอาจจะพบว่ามีการสูญหายของฟิล์มเอกซเรย์ ซึ่งมีความจำเป็นในการใช้เปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงของโรค ระบบ  PACS มีการจัดเก็บข้อมูลไว้ในคอมพิวเตอร์ซึ่งมีระบบเก็บข้อมูลสำรอง จึงช่วยแก้ปัญหานี้ได้

เราจะได้อะไรจาก  PACS
ข้อดีของระบบ PACS มีหลายด้านดังนี้
๑. ผลดีต่อกระบวนการรักษาพยาบาล

  • ลดเวลาในการตรวจ และรอคอยผลการเอกซเรย์ เนื่องจากการล้างฟิล์ม และการค้นหา ฟิล์มเก่า
  • ได้รับการวินิจฉัยโรค และได้รับการรักษาพยาบาลที่เร็วขึ้น
  • เนื่องจากสามารถเรียกข้อมูลเก่าที่เก็บไว้ในระบบได้ตลอดเวลา ทำให้แพทย์สามารถเปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงของโรคได้ตลอดเวลา ซึ่งจะช่วยให้การวินิจฉัยแม่นยำยิ่งขึ้น และช่วยในการวางแผนการรักษาได้อย่างต่อเนื่อง
  • ลดปริมาณรังสีที่ผู้ป่วย และบุคลากรทางการแพทย์จะได้รับเนื่องจากการถ่ายฟิล์มซ้ำที่เกิดจากการตั้งค่าเทคนิคไม่เหมาะสมกับผู้ป่วย

๒. ประหยัดทรัพยากรและรักษาสิ่งแวดล้อม

  • ลดอัตราการสูญเสียฟิล์มในการเอกซเรย์ซ้ำ เพราะระบบการถ่ายเอกซเรย์ที่เก็บภาพแบบ Digital  ทำให้รังสีแพทย์สามารถที่จะทำการปรับค่าความสว่างของภาพได้
  • ลดการสูญหายของฟิล์มเอกซเรย์ที่จะเกิดขึ้นในระบบเก่า
  • ลดการทำลายสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นจากกระบวนการล้างฟิล์ม (น้ำยาล้างฟิล์มและน้ำเสียจากเครื่องล้างฟิล์ม)
  • ลดพื้นที่ในการจัดเก็บฟิล์มเอกซเรย์
  • จะไม่มีการเสื่อมสภาพของภาพรังสีเพราะว่าข้อมูลภาพถ่ายทางรังสีจะถูกเก็บในรูปแบบ Digital

ระบบ PACS จัดเก็บภาพเอกซเรย์อย่างไร
          สำหรับระบบ PACS ของศูนย์รังสีวินิจฉัยในศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพรัตน์ สามารถทำการรับสัญญาณการเชื่อมต่อภาพที่เกิดจากเครื่องมือต่างๆ โดยผ่านมาตรฐานภาพ DICOM  ดังนี้
๑. Digital radiography เป็นเทคโนโลยีการถ่ายเอกซเรย์ทั่วไป โดยใช้อุปกรณ์แปลงสัญญาณเอกซเรย์ (Flat panel detector) เป็นภาพดิจิตอล ซึ่งภาพจากเครื่องดังกล่าวสารมารถส่งเข้าระบบการจัดเก็บ, รับ-ส่ง ข้อมูลภาพทางการแพทย์ (PACS) เพื่อการแปลผลและส่งให้แพทย์ผู้ตรวจได้พร้อมกัน ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการตรวจรักษาของแพทย์ให้รวดเร็วขึ้น
๒. Computed Tomography (CT) เป็นเครื่องตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์
๓. Digital Subtraction Imaging (DSI) เป็นเครื่องส่องตรวจทางรังสีชนิดภาพดิจิตอล ใช้ร่วมกับสารทึบรังสี เช่นการตรวจกระเพาะอาหารและลำไส้ เป็นต้น
๔. UItrasound and color Doppler UItrasound (US) เป็นเครื่องตรวจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูงระบบใหม่ สามารถตรวจพยาธิสภาพของหลอดเลือดได้
๕. Magnetic Resonance Imaging (MRI) เป็นเครื่องตรวจวินิจฉัยด้วยสนามแม่เหล็กไฟฟ้า

ถ้าเราต้องการฟิล์มเอกซเรย์จะทำอย่างไร  
          บางครั้งเราจะพบว่า มีผู้ป่วยต้องการฟิล์มเอกซเรย์ไปใช้ในการรักษาต่อยังสถานพยาบาลอื่น ซึ่งต้องใช้ฟิล์มในการรักษาต่อเนื่อง ในระบบ PACS สามารถที่จะทำการพิมพ์ภาพถ่ายทางรังสีออกมาได้ โดยใช้เครื่อง Dry Thermal Imager ซึ่งต่อเชื่อมโยงกับระบบ PACS ที่ใช้สำหรับพิมพ์ภาพถ่ายทางเอกซเรย์พิเศษได้ นอกจากนี้ผู้ป่วยยังสามารถขอรับภาพถ่ายทางรังสีในรูปแบบของแผ่น CD แทนแผ่นฟิล์มเพื่อนำไปทำการรักษาต่อเนื่องได้โดยไม่ต้องถือฟิล์มจำนวนมากอีกต่อไป (ในกรณีที่สถานพยาบาลที่จะใช้ข้อมูลภาพเหล่านี้มีระบบคอมพิวเตอร์ที่รองรับได้)

PACS ระบบที่ดีที่สุดของเอกซเรย์
          ภายในอนาคตอันใกล้นี้ แผนกเอกซเรย์ในโรงพยาบาลหลายๆ แห่ง จะมีการติดตั้งระบบ PACS กันมากขึ้น ซึ่งนั่นก็หมายความว่าผู้เข้ามาใช้บริการของโรงพยาบาล จะได้รับความสะดวกรวดเร็วในการตรวจบริการของแผนกเอกซเรย์ รวมไปถึงได้รับการวินิจฉัย และการรักษาพยาบาลจากแพทย์โดยรวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากขึ้นอีกด้วย รวมทั้งสามารถที่จะทำการปรึกษาผลวินิจฉัยภาพได้ระหว่างโรงพยาบาลที่มีการติดตั้งระบบ PACS  ได้เช่นกัน


ข้อสังเกต DICOM file

- DICOM files are not recognized by Windows® as image files ดังนั้น เราไม่สามารถเปิดไฟล์โดยใช้ software หรือ application ทั่วไปได้ [2]

- ในการจะเปิดดูไฟล์ จำเป็นต้องใช้ additional software package called “DICOM browser” เช่น 3D-Doctor Viewer v 4.0.070803, DCM View etc. [3]

- รูปภาพที่แสดงจะประกอบไปด้วยจุดจำนวนมาก เรียกแต่ละจุดนี่ว่า “pixels” ซึ่งจำนวน pixels นี่ก็ขึ้นอยู่กับ ชนิดของ Digital medical image ที่เราใช้ เช่น ถ้าเป็นของ CT scan จะเป็น 512 x 512 pixels ขณะที่ของ MRI จะเป็น 256 x 256 pixels โดยพื้นที่ในการจัดเก็บ และ Resolution ของ Digital image ต่างๆ เป็นไปตามตารางนี้ [2]







ที่มา:ศูนย์รังสีวินิจฉัย (Radiology Center)


ดูตัวอย่าง ขอ Link ใช้งาน จากผู้พัฒนา

User: user1

Pass: user1


ราคาเช่าระบบ: -/เดือน   
พร้อม ติดตั้งดูแลการใช้งาน ตลอดอายุโปรแกรม
หรือซื้อขาด ติดต่อ







 








 








electronic

About electronic

Author Description here.. Nulla sagittis convallis. Curabitur consequat. Quisque metus enim, venenatis fermentum, mollis in, porta et, nibh. Duis vulputate elit in elit. Mauris dictum libero id justo.

Subscribe to this Blog via Email :